ข้อมูลทั่วไป

ลักษณะทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะทางภูมิศาสตร์

1. ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ และโดยรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตร ตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ

2. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ รัฐฉานของสหภาพเมียนม่าร์ โดยมีสันปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก ดอยอ่างขาง อันเป็น ส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีร่องน้ำแม่ตื่นและสันปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวง เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงราย ลำพูน และลำปาง ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงราย และลำปาง มีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา ดอยแม่โต เป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูงและร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอปาย อำเภอขุนยวมและอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสันปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวงและร่องแม่ริด แม่ออย และ สันปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต

ลักษณะภูมิอากาศ
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 72% สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่ - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพาเอาความหนาวเย็นจากประเทศจีนลงมาปกคลุม ประเทศไทยตอนบน - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมฝ่ายใต้

สภาพภูมิประเทศ
โดยทั่วไปแล้วพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นป่าละเมาะและภูเขา มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาสูง ที่สุดในประเทศไทย คือ "ดอยอินทนนท์" สูงประมาณ 2,565 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 106 กม. ดอยอินทนนท์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมาก นอกจากนี้ยังมีดอยอื่น ๆ ที่มีความสูงรองลงมา อีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,297 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,195 ดอยสุเทพ สูง 1,678 เมตร

โดยทั่วไปอาจแบ่งสภาพพื้นที่ออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. พื้นที่ภูเขา ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเกินกว่า 500 เมตร ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พื้นที่ภูเขาเหล่านี้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก
2. พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขามีรูปร่างยาวรี ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ อันได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง และลุ่มน้ำแม่งัด ซึ่งนับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร

พื้นที่
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ประมาณ 20,107.057 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,566,910 ไร่ โดยจำแนกลักษณะพื้นที่ได้ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง
จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 22 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ มีจำนวนตำบล 204 ตำบล และจำนวนหมู่บ้าน 1,915
มีรายชื่ออำเภอ และกิ่งอำเภอ ดังนี้
1. กิ่ง อ.ดอยหล่อ 2. กิ่ง อ.แม่วาง 3. อ.จอมทอง 4. อ.เชียงดาว 5. อ.ไชยปราการ 6. อ.ดอยเต่า 7. อ.ดอยสะเก็ด 8. อ.ฝาง 9. อ.พร้าว 10. อ.เมือง 11. อ.แม่แจ่ม 12. อ.แม่แตง 13. อ.แม่ริม 14. อ.แม่ออน 15. อ.แม่อาย 16. อ.เวียงแหง 17. อ.สะเมิง 18. อ.สันกำแพง 19. อ.สันทราย 20. อ.สันป่าตอง 21. อ.สารภี 22. อ.หางดง 23. อ.อมก๋อย 24. อ.ฮอด

ประชากร
จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,587,468 คน แยกเป็นชาย 787,808 คน หญิง 799,657 คน (ณ เดือนธันวาคม 2542) ความหนาแน่นเฉลี่ย 78 คน/ตร.กม. มีชุมชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่กระจายทั่วไป รวม 1,072 กลุ่ม บ้าน 32,742 หลังคาเรือน ประชากร 190,795 คน ประกอบด้วยชาวไทยภูเขาเผาต่าง ๆ ได้แก่ กระเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ มูเซอ อีก้อ ถิ่น ขมุ ลัวะ และอื่น ๆ (ได้แก่ คะฉิ่น และชนกลุ่มน้อยที่มีชาวไทยภูเขาอยู่ร่วมกันมากกว่า 1 เผ่า) และชาวไทยพื้นเมืองอีก 1 เผ่า เป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติไทยแล้ว จำนวน 152,139 คน
และยังไม่ได้รับสัญชาติไทย 38,656 คน

แหล่งน้ำธรรมชาติ
จังหวัดเชียงใหม่ มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วย แม่น้ำ ลำคลอง หนองและบึง ธรรมชาติหลายแห่ง สำหรับ แม่น้ำที่สำคัญ ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่มี 8 สายด้วยกันคือ

1. แม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำสายใหญ่และยาวที่สุด ต้นน้ำอยู่บริเวณหมู่บ้านเมืองงายของภูเขาแดนลาวติดพรมแดนตอนเหนือ ไหลผ่านหมู่บ้านเมืองงายลงมายังอำเภอเชียงดาว แม่แตง แม่ริม ผ่านกลางเมืองเชียงใหม่ ลงไปกลายเป็นเส้นกั้นเขตจังหวัดลำพูนกับเชียงใหม่ ผ่านอำเภอสารภีและอำเภอหางดง อำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน อำเภอจอมทอง และอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ลงไปยังเขตจังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร บรรจบแม่น้ำน่านที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

2. แม่น้ำฝาง อยู่ในเขตอำเภอฝาง เป็นแม่น้ำที่ไหลย้อนขึ้นไปทางทิศเหนือ ต้นน้ำเป็นลำธารหลายสายไหลมารวมกันจากตอนใต้สุดของอำเภอฝาง แล้วไหลไปบรรจบกันทางทิศตะวันออกของตัวอำเภอฝางและไหลไปบรรจบกับแม่น้ำกกที่บ้านท่าตอน และไหลลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่านจังหวัดเชียงรายแล้ววกขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบรรจบลำน้ำ แม่โขง

3. แม่น้ำแม่แตง ต้นน้ำเกิดจากห้วยลำธารต่าง ๆ เขตตำบลเมืองแหง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ เชียงดาวไหลมารวมกับน้ำแม่คองกลายเป็นลำน้ำแม่แตงไหลผ่านอำเภอแม่แตงบรรจบแม่น้ำปิงทางทิศใต้ของอำเภอแม่แตงบริเวณบ้าน สหกรณ์

4. แม่น้ำแม่งัด ต้นน้ำเกิดจากห้วยลำธารจากภูเขาซึ่งล้อมรอบตัวอำเภอพร้าว เกิดแม่น้ำสายนี้ไหลผ่านเขตอำเภอดอยสะเก็ด บรรจบกับแม่น้ำก๋น แม่น้ำคาว ลงสู่แม่น้ำปิง

5. แม่น้ำแม่กวง ต้นน้ำเกิดอยู่บนเทือกเขาบริเวณบ้านยางนาน้อย ไหลผ่านอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองลำพูน แล้วไหลบรรจบกับแม่น้ำปิงบริเวณบ้านสบทา

6. แม่น้ำแม่ขาน ต้นน้ำเกิดอยู่บนเทือกเขาบริเวณบ้านแม่ขานใหญ่ อำเภอสะเมิง ไหลผ่านทุ่งนาบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอสันป่าตองไหลบรรจบแม่น้ำปิงบริเวณบ้านท่ามะโอ อำเภอ สันป่าตอง

7. แม่น้ำแม่กลาง ต้นน้ำเกิดอยู่บนเทือกเขาดอยอินทนนท์ หรือดอยอ่างกา ในเขตอำเภอจอมทอง แล้วไหลผ่านตัวอำเภอจอมทองลงสู่แม่น้ำปิง

8. แม่น้ำแม่แจ่ม ต้นน้ำเกิดอยู่บนเทือกเขาสาขาของดอยหัวช้างในเขตอำเภอแม่แจ่มไหลมารวมกับลำธารอื่น ๆ ในเขตบ้านม่วงป้องกลายเป็นแม่น้ำแม่แจ่ม ไหลผ่านภูเขาซึ่งขนานอยู่สองข้าง เต็มไปด้วยทิวทัศน์ธรรมชาติ สวยงาม เลียบเชิงดอยอินทนนท์ ทางด้านทิศตะวันตกแล้วไหลผ่านที่ราบป่าไม้ ทุ่งนา หมู่บ้านผ่านตัวอำเภอแม่แจ่ม แล้ววกอ้อมดอยเลือมูน ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ลงมาบรรจบแม่น้ำแม่ปิง ที่บ้านแม่แจ่ม ห่างจากที่ว่าการอำเภอฮอด ไปทางทิศเหนือ

อาหารล้านนา

ไส้อั่ว
คล้ายกับไส้กรอก ชาวเหนือปรุงขึ้นมารับประทานกับข้าวเหนียว ในปัจจุบันไส้อั่วเป็นอาหารรับประทานเป็นกับแกล้มหรือเรียกน้ำย่อยได้

ผักกาดจอ
แกงผักกาดจอ เป็นแกงผักกาดกวางตุ้ง ให้รสอร่อยและมากไปด้วยคุณค่าทางอาหาร นิยมรับประทานกับพริกแห้งทอด

น้ำพริกอ่อง
อาหารที่มีชื่อเสียงที่รู้จักกันดีในภาคเหนือ รสชาดอันเป็นเอกลักษณ์นี้จะออกไปทางหวานจากรสของมะเขือเทศ แต่ยังคงรสชาดเข้มข้นอยู่

น้ำพริกหนุ่ม
เป็นอาหารทางเหนือที่ปรุงขึ้นอย่างง่าย มีรสชาดเผ็ด อร่อย ปัจจุบันได้กลายเป็นของฝากที่มีชื่อเสียงของทางเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่

ข้าวซอย
เป็นอาหารของชาวไทยใหญ่ (เงี้ยว) เส้นข้าวซอยคล้ายเส้นบะหมี่ แต่จะแบนกว่า มีเฉพาะทางเหนือเท่านั้น ข้าวซอยมีทั้งใส่เนื้อหรือไก่ มีเครื่องแกงหลายอย่าง เชียงใหม่มีร้านข้าวซอยที่มีชื่อเสียงและเปิดมานาน หากผ่านมาต้องลองมาแวะชิม

"แผนที่เชียงใหม่"



แหล่งท่องเที่ยว










วัดพระธาตุดอยสุเทพ
ไหว้องค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองเชียงใหม่
เป็นวัดสำคัญของเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวทุกคนที่เดินทางไปเชียงใหม่มักขึ้นไปนมัสการจนมีคำขวัญชาวบ้านในสมัยก่อนว่า
ไปเชียงใหม่ต้อง "ไปกำแพงดิน กินข้าวซอย ขึ้นดอยสุเทพ" อีกทั้งคนเชียงใหม่เองยังเดินทางไปนมัสการอยู่เป็นประจำด้วย
เชื่อว่าการขึ้นไปนมัสการพระธาตุเสมือนกับการไปแสวงบุญ เนื่องจากสมัยก่อนการเดินทางขึ้นดอยนั้นทำได้ยาก
ประวัติ
ตั้งขึ้นในสมัยโบราณตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๖๒ ครั้งพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชอาณาจักรมังราย ทรงนิมนต์พระเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผยแพร่
พระพุทธศาสนาในเชียงใหม่ ท่านได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาด้วยจำนวนสององค์ พญากือนาจึงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นที่วัดสวนดอก
และวัดพระธาตุดอยสะเทพ ในระยะแรกวัดพระธาตุดอยสุเทพยังไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ต่อมาประมาณปีพ.ศ. ๒๐๘๑ - ๒๑๐๐ พระญาณมงคลโพธิเถระจากลำพูนมาจำพรรษา และสร้างบันไดหินจากฐานขึ้นไปยังองค์พระบรมธาตุ ต่อมาได้ก่ออิฐถือปูนเป็นบันไดนาค
พ.ศ.๒๓๔๘พระเจ้ากาวิละโปรดให้บูรณะปฎิสังขรณ์พระบรมธาตุและสร้างวิหารสองหลังและเริ่มงานประเพณีขึ้นดอยเพื่อไปทำบุญในวันแปดเป็ง (เหนือ) หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา)
พ.ศ. ๒๔๗๘ ครูบาศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) ได้เชิญชวนให้ประชาชนชาวเหนือร่วมแรงงานร่วมใจกันสร้างถนนจากเชิงดอยขึ้นไปสู่
วัดพระธาตุฯ โดยเริ่มลงมือเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ในเวลาเพียง ๔ เดือน ๒๒ วันเท่านั้น
รวมระยะทางประมาณ ๑๔ กิโลเมตร


วัดสวนดอกหรือวัดบุปผาราม
วันสวนดอกเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนา เมื่อปี พ.ศ. 1914 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสมุน ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในแผ่นดินล้านนาไทย ในสมัยแรกเริ่มนั้นมีสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงกลม นอกจากนี้ยังมีความสำคัญเป็นที่ตั้งของกู่บรรจุอัฐิเจ้านายฝ่ายเหนือตระกูล ณ เชียงใหม่ ที่เห็นตั้งเรียงรายบริเวณปริมณฑลมีกำแพงล้อมรอบนั่นเอง

ภายในวิหารวัดสวนดอกเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วทรงให้หล่อขึ้นนอกเหนือจากลักษณะเด่นทางรูปทรงเจดีย์ทรงกลมเต็มไปหมด วัดสวนดอกแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมืองเยื้องกับโรงพยาบาลสวนดอก ถนนสุเทพ

วัดอุโมงค์
สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานที่จำพรรษาของฝ่ายอรัญวาสีต่อมาพญากือนาทรงมีรับสั่งให้สร้าง อุโมงค์ขึ้นเพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่นั่งปฏิบัติธรรม วิปัสนากรรมฐาน ภายในวัดมีความสงบร่มรื่น เต็มไปด้วยต้นไม้นานา พันธ์เหมาะแก่การศึกษาธรรมชาติ และนั่งวิปัสนากรรมฐานเป็นยิ่งนักมีทั้งต้นไม้น้อยใหญ่สระน้ำและสวนสัตว์ให้เป็นที่พักผ่อน หย่อนใจกันที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือเจดีย์ อยู่ทางด้านใต้ของพระวิหารเป็นเจดีย์ทรงระฆังมีชั้นทรงกลมประมาณ3ชั้นลักษณะเหมือน กลีบบัวซ้อนกันอยู่ด้านบนมีปลียอด เจดีย์นี้ถือเป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ของแคว้นล้านนาอีกแห่งหนึ่ง


น้ำพุร้อนสันกำแพง
ได้รับการปรับปรุงและการดำเนินการโดยความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสหกรณ์การ
เกษตรหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพงจำกัดเพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติล้อมรอบไปด้วยภูเขามีไม้ดอกนานาพันธ
ุ์และน้ำพุร้อนที่มีอุณภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านสหกรณ์ กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ การเดินทาง จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปน้ำพุร้อนฯ ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตรใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที นอกจากนั้นยังมีที่พักร้านอาหารเต็นท์แคมป์ไฟและห้องอาบน้ำแร่บริการสำหรับนักท่องเที่ยว


"ดอยอ่างขาง"
บนเส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า


อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง, สวนบอนไซ , หมู่บ้านคุ้ม, จุดชมวิวกิ่วลม, หมู่บ้านนอแล, หมู่บ้านขอบด้ง, หมู่บ้านหลวง

งานเทศกาลต่างๆ

ประเพณีสงกรานต์





เทศกาลสงกรานต์นี้ชาวล้านนาเรียกว่า ปเวณีปีใหม่หรือปาเวณีปีใหม่ (อ่าน"ป๋าเวนีปี๋ใหม่") ในช่วงเทศกาลนี้ซึ่งกินเวลา ๕ วัน ประชาชนจะหยุดงานทั้งสิ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระนี้ทั้งในแง่ศาสนาและพิธีกรรมโดยตลอด เทศกาลสงกรานต์ตามปฏิทินโหราศาสตร์ของชาวล้านนานั้น จะถือเอาวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็น วันสังกรานต์ล่อง หรือวันมหาสงกรานต์ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ตามประกาศของทางการเสมอไป (แต่ปัจจุบันนี้จะยึดตามประกาศของทางการ) เทศกาลนี้จะมีวันต่าง ๆ และมีพิธีกรรมและการละเล่นหลายอย่างที่ เกี่ยวข้องกัน ดังนี้

วันสังกรานต์ล่อง คือวันมหาสงกรานต์ ซึ่งออกเสียงแบบล้านนาว่า "สัง-ขาน" นี้คือวันที่พระอาทิตย์โคจรไปสุดราศีมีนจะย่างเข้าสู่ราศีเมษ ตามความเชื่อแบบล้านนากล่าวกันว่าในตอนเช้ามืดของวันนี้ "ปู่สังกรานต์" หรือ "ย่าสังกรานต์"จะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีแดงสยายผมล่องแพไปตามลำน้ำ ปู่หรือย่าสังกรานต์นี้จะนำเอาสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาตามตัวมาด้วย จึงต้องมีการยิงปืนจุดประทัดหรือทำให้เกิดเสียงดังต่าง ๆ นัยว่าเป็น "การไล่สังกรานต์" และถือกันว่าปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังกรานต์นั้นจะมีความขลังมาก ตั้งแต่เช้าตรู่ของวันนี้จะมีการปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด มีการซักเสื้อผ้า เก็บกวาดและเผาขยะมูลฝอยต่าง ๆ มีการดำหัวหรือสระผมเป็นกรณีพิเศษ คือเมื่อสระผมแล้วก็จะต้องเงยหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้และทัดดอกไม้ที่เป็นนามของปีของแต่ละปี นุ่งห่มเป็นเสื้อผ้าใหม่ ฝ่ายพ่อบ้านก็จะนำเอาพระพุทธรูปพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังต่างๆ มาชำระหรือสรงด้วยน้ำอบน้ำหอมหรือ เปลี่ยนดอกไม้บูชาพระในแจกันใหม่ด้วย

ในวันสังกรานต์ล่องนี้ ตามประเพณีโบราณแล้ว กษัตริย์แห่งล้านนาจะต้องทำพิธีสรงน้ำตามทิศที่ โหรหลวงคำณวนไว้ และจะลงไปทำพิธีลอยเคราะห์ในแม่น้ำเช่น ในแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง เป็นต้น ในวันนี้บางท่านก็จะเรียกลูกหลานมาพร้อมกล่าวคำมงคลแล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะตัวเองหรือลูกหลานทุกคน และบางท่านจะให้ ลูกหลานเอาฟักเขียวหรือฟักทองไปปลูกและใช้มูลควายตากแห้งเป็นปุ๋ยโดยบอกเด็กว่าปู่ย่าสังกรานต์พึงใจที่ได้เห็น ลูกหลานปลูกฟัก บ้างว่า ผู้ที่ปลูกฟักนั้นก็จะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดด้วย สำหรับในเมืองใหญ่เช่นเชียงใหม่ นิยมจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองเช่นพระพุทธสิหิงค์และพระเสตังคมณี ไปตามถนนสายต่าง ๆ แล้วนำไปประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนได้เข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธรูปดังกล่าวด้วย
วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า ในแง่ของโหราศาสตร์แล้ว วันนี้ควรจะเรียกว่า วันเนา เพราะเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ อันเป็นวันที่ถัดจากวันสังกรานต์ล่อง แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก"วันเน่า" ทำให้เกิดความคิดที่ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่า และหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ"เน่า"และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ในวันพญาวัน เมื่อถึงตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัด กองรวมกันทำเป็น การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ติดเท้าของตนออกจากวัดซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด วันเนานี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา เพราะเป็นวันที่ ดา หรือจัดเตรียม สิ่งของต่างๆ จะใช้ทำบุญนั่นเอง

วันพญาวัน เป็นวันเถลิงศกเริ่มต้นจุลศักราชใหม่ วันนี้เป็นวันที่มีการทำบุญทางศาสนาดัง ตั้งแต่เวลา เช้าตรู่ผู้คนจะนำเอาสำรับอาหารหวานคาวต่าง ๆ ไปทำบุญถวายพระตามวัด ทานขันเข้า (อ่าน"ตานขันเข้า") เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่า ทานขันเข้าฅนเถ้าฅนแก่
จากนั้นจะนำทุงหรือธงซึ่งได้เตรียมไว้ไปปักบนเจดีย์ทราย ทั้งนี้ มีคติว่าการทานทุง นั้นมีอานิสงส์ สามารถช่วยให้ผู้ตายที่มีบาปหนักถึงตกนรกนั้นสามารถพ้นจากขุมนรกได้ จากนั้นก็มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ในวันพญาวันนี้ บางท่านอาจจะเตรียมไม้ง่ามไปถวายสำหรับค้ำต้นโพ ถือคติว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการจะช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป และจะมีการสรงน้ำทั้งพระพุทธรูป สถูปเจดีย์รวมทั้งสรงน้ำพระภิกษุสงฆ์ด้วย ในตอนบ่ายจะมีการไป ดำหัวหรือไปคารวะผู้เฒ่าผู้แก่บิดามารดา ญาติพี่น้องผู้อาวุโสหรือผู้มีบุญคุณหรือผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาและผู้ใหญ่ก็จะให้พร

วันปากปี ในวันนี้ ศรัทธาที่ไม่ไปที่วัดก็ จะไปเตรียมสถานที่ เพื่อทำบุญใจบ้าน คือบริเวณที่ตั้งของ เสาใจบ้านหรือสะดือบ้านบ้างเรียก แปลงบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บริเวณหอเสื้อบ้าน (อารักษ์หมู่บ้าน) ที่วัดตอนเช้าจะมีการทำพิธีปูชาเข้าลดเคราะห์ ปูชาเข้ายกเคราะห์ ปูชาเคราะห์ปีใหม่ ปูชาสระพระเคราะห์ เป็นต้น เชื่อว่าผู้ที่บูชาดังว่าในวันปากปี จะได้รับความคุ้มครองไปตลอดปี และชาวบ้านบางคนจะพากันไปดำหัววัด คือไปทำพิธีคารวะเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ด้วย
วันในลำดับที่ ๕ ของเทศกาลนี้คือ วันปากเดือน ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ ในวันนี้นิยมมีการส่งเคราะห์ต่าง ๆ ตามแบบที่นิยมนับถือกันมาแต่โบราณ การส่งเคราะห์ที่ว่านี้มีหลายอย่าง เช่น ส่งชน, ส่งแถน, ส่งเคราะห์นรา เป็นต้น ส่วนการดำหัวนั้นก็จะดำเนินต่อไปจนครบตามต้องการ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้มีการละเล่นที่สนุกสนานหลายอย่าง เช่น เล่นหมากบ้าหรือการเล่นสะบ้า เล่นหมากคอนหรือการเล่นโยนลูกช่วง เป็นต้น แต่การเล่นที่สนุกที่สุกและมีเพียงช่วงเดียวในรอบปี คือ เล่นหดน้ำ ปีใหม่ หรือการเล่นรดน้ำในเทศกาลขึ้นปีใหม่นั่นเอง



ประเพณี ปอยส่างลอง 4 - 6 เมษายน 2552
คำว่า "ส่างลอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ เกิดจากคำผสมระหว่าง "ส่าง" แปลว่า สามเณร และคำว่า "ลอง" แปลว่า ผู้เป็นใหญ่เหนือมนุษย์หรือเทพบุตร หรือผู้เป็นหน่อเนื้อของผู้วิเศษ คำเต็มคือ "อลอง" เมื่อผสมกับคำว่า "ส่าง" เสียงอะที่อยู่หน้ากร่อนหายไป สันนิษฐานว่าเป็นภาษาพม่าที่นำมาใช้ภาษาไทยใหญ่
อีกนัยหนึ่งคำว่า "ส่างลอง" เทียบได้กับคำว่า "ลูกแก้ว" ในภาษาถิ่นล้านนา ประเพณีทำบุญส่างลอง เรียกว่า ปอยส่างลอง คำว่า "ปอย" คือ งานอันเป็นมงคลยิ่งใหญ่ในการบรรพชา หรือ บวชลูกแก้วของชาวล้านนา
ส่วนประวัติความเป็นมามีกล่าวไว้หลายเรื่อง เรื่องหนึ่งคือ ในสมัยอดีตกาล ณ เมืองหนึ่งมีพระมหากษัตริย์ มีโอรสทรงพระนามว่า "จิตตะมังชา" ครั้นโอรสมีอายุได้ 10 ชันษา พระบิดาก็มุ่งหวังจะให้โอรสได้ผนวชเป็นสามเณร แต่พระองค์ไม่ทรงบังคับแต่อย่างใด ความนี้ล่วงรู้ไปถึง "จิตตมังชาโอรส" จึงได้ตัดสินใจขอผนวชเอง ทำให้พระราชบิดาทรงปลาบปลื้มมาก รับสั่งให้มีการฉลองอย่างยิ่งใหญ่ตลอด 7 วัน 7 คืน ได้แห่ส่างลองจิตตะมังไปรอบเมือง และไปหาพระพุทธเจ้า
สามเณรจิตตมังชาผนวชอยู่กับพระพุทธเจ้าเป็นเวลานาน ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแตกฉานและได้สำแดงบุญบารมีเป็นที่ประจักษ์ไปทั่ว เช่นครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสร็จไปเยี่ยมพระประยูรญาติ ณ เมืองกบิลพัสดุ์ พระนางปชาบดีโคตมีได้ทอผ้าจีวรด้วยเส้นทองคำ 2 ผืน ถวายแด่ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับผืนเดียวที่เหลือไม่มีสาวกองค์อื่นกล้ารับ แต่สามเณรจิตตมังชากล้ารับทำให้เกิดเสียงวิจารณ์เป็นอันมากว่า สามเณรจิตตะมังชายังเยาว์วัยเกินไปไม่สมควรรับ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงจัดให้สาวกมาประ
ชุมกัน แล้วพระองค์ทรงโยนบาตรขึ้นไปในอากาศ พร้อมกับตรัสว่า สาวกองค์ใดจะมีความสามารถรับบาตรนี้ได้ ปรากฏว่าผู้ที่สามารถรับบาตรนี้ได้คือ สามเณรจิตตะมังชาได้เหาะไปรับบาตรมาถวายพระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นว่า เหมาะที่จะรับจีวรด้ายทองคำ และเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป
อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า สมัยพุทธกาลที่เมืองแห่งหนึ่งมีงานปอยส่างลอง โดยคหบดีเศรษฐีผู้มีเงินทองหลายคนร่วมกันจัดงาน แต่มีครอบครัวหนึ่งกำพร้าพ่อเหลือแม่กับลูกชายที่มีรูปร่างอัปลักษณ์น่าเกลียดไม่มีใครอยากคบด้วย ลูกชายอยากเป็นส่างลองมาก แต่แม่ยากจนไม่สามารถหาเงินมาจัดงาน "ปอยส่างลอง" ได้ พร้อมทั้งถูกพูดจาถากถางตลอดว่า "ยากจนแล้วอย่างเป็นส่างลอง" ยิ่งใกล้ถึงวันรับส่างลอง เสียฆ้องกลองบ้านเจ้าภาพทำให้ทั้งแม่และลูกเป็นทุกข์มาก ครั้นหมดปัญญาจะหาเงินมาร่วมจัดงานด้วยเรื่องนี้ร้อนไปถึง "บุนสาง" หรือพระพรหม ผู้มีหูตาทิพย์ เมื่อทราบจึงมีความคิดที่จะช่วยทั้งสอง จึงแปลงร่างเป็นชายแก่มอบเงินทองให้ แต่ก็ติดขัดที่ลูกชายรูปร่างอัปลักษณ์ พระพรหมก็บอกว่าไม่ต้องเป็นห่วงจะช่วยเอง
จนถึงวันรับส่างลอง เมื่อแต่งชุดส่างลองแล้ว พระพรหมก็เนรมิตรูปร่างให้ใหม่กลายเป็นส่างลองที่สวยงาม แต่งคล้ายเจ้าชายมีเครื่องประดับสวยงาม เพื่อแห่ส่างลองไปรอบๆ เมือง ผู้คนพบเห็นต่างก็ประทับใจ กล่าวชมความสวยงามและน่ารักของส่างลองเป็นอันมาก จวบจนเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็อยู่ในเพศบรรพชิตต่อไป
นอกจากนี้ยังเชื่อว่า การจัดงาน "ปอยส่างลอง" จะได้อานิสงส์มาก ถ้าได้บวชลูกตนเองเป็นสามเณรได้อานิสงส์ 7 กัลป์ถ้าบวชลูกคนอื่นได้อานิสงส์ 4 กัลป์ ถ้าได้อุปสมบทลูกตัวเองเป็นพระภิกษุได้อานิสงส์ถึง 12 กัลป์ อุปสมบทลูกคนอื่นเป็นพระภิกษุได้อานิสงส์ 8 กัลป์ ดังนั้นชาวไทยใหญ่ทั้งหลายไม่ว่าจะยากดีมีจนก็ต้องพยายามจัดงานปอยส่างลองให้ได้
งานปอยของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ยึดถือปฏิบัติกันมาหลายร้อยปีแล้ว เช่นในคราวที่สมเด็จเจ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จไปตรวจราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อ พ.ศ. 2472 ได้บันทึกไว้ในรายงานความว่า
"ในวันที่ขึ้นพระธาตุดอยกองมูนี้ ที่เชิงดอยมีแห่ครัวทานตามแบบพายัพ พญาพิศาลฮ่องสอนกิจ พ่อเมือง นำหน้าขบวนแล้วก็ถึงมหรสพแล้วถึงมณฑปทำด้วยกระดาษมีคานหาม ต่อนั้นไปมีผู้หญิงงามถือธูปเทียนตกแต่งด้วยเครื่องกระดาษ ประมาณ 40 คน มีสำรับคาวหวาน คนหาบซึ่งมีเด็กซึ่งบวชเป็นสามเณรในวันนั้น ขี่คอคนต่างม้า ยึดผ้าโพกศีรษะคนนั้นๆ เป็นบังเหียนเต้นทำนองม้า มีกลดทองแบบพม่าทั้งสิ้น ข้างขวาคนละ 2 คัน รวม 10 คัน มีนางงามโปรยข้าวตอกซัดเตจ้านาค เจ้านาคแต่งตัวคล้ายละครพม่า พิธีนี้ตามคำเมืองเรียกว่า "บวชลูกแก้ว หรือ ปอยส่างลอง" ตามภาษาไทยใหญ่"



งานเทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง

จัดขึ้นประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี ณ บริเวณหมู่บ้านหัตถกรรมบ่อสร้าง ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
การจัดขบวนแห่วัฒนธรรมรถประดับร่ม การประกวดหัตถกรรม การแข่งขันวาดพัด วาดร่มของนักท่องเที่ยว การประกวดธิดาร่วมบ่อสร้าง “แม่ญิงงามขี่รถถีบกางจ้อง” การกินข้าวแลงและขันโตก
การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่หาดูได้ยาก "Street Fair" คือ ใช้พื้นที่ของหมู่บ้านบ่อสร้างซึ่งขนานกันตลอดแนวถนน ตั้งแต่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้านระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นสถานที่จัดงาน ตกแต่งบ้านและร้านค้าต่างๆ เป็นแบบล้านนาไทย และใช้ร่มสัญลักษณ์ของหมู่บ้านเป็นส่วนประกอบสำคัญในการตกแต่ง พร้อมทั้งประดับประทีบโคมไฟแบบพื้นเมือง
นอกจากนี้ยังมีการแสดงและจำหน่ายร่มกระดาษสาและสินค้าหัตถกรรมของผู้ประกอบการในหมู่บ้านบ่อสร้างที่ผลิตและจำหน่ายในราคาย่อมเยาว์



"ประเพณีเดือนยี่เป็ง "

“สืบฮีต สานฮอย ต๋ามโคมผ่อกอย ยี่เป็งล้านนา”
"ประเพณีเดือนยี่เป็ง" คือประเพณีสำคัญซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนยี่ ตรงกับเดือนพฤศจิกายน ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน เมื่อถึงคืนดังกล่าวชาวล้านนาก็จะนำกระถางพร้อมเครื่องสักการะบูชาด้วยธูปเทียนลอยตามน้ำเพื่อให้ถึงญาติพี่น้องและบรรพบุรุษที่ล่วงลับพร้อมเรียกพิธีกรรมนี้ว่า "ลอยโขมดหรือลอยไฟ" โดยก่อนจะถึงวันยี่เป็ง 2-3 วัน ชาวบ้านจะทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอารามปัดกวาดวิหารศาลาให้งดงาม เพื่อจัดเตรียมสถานที่สำหรับ "การตั้งธรรมหลวง"


สำหรัับกิจกรมที่สำคัญของประเพณีเดือนยี่เป็ง ประกอบไปด้วย "การตกแต่งซุ้มประตูป่า" คือการนำเอาก้านมะพร้าว ต้นกล้วย ต้นอ้อย ดอกไม้มาช่วยกันทำซุ้มประตูที่หน้าบ้าน และประตูวัด เรียกว่า "ประตูป่า" ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่า ทำเพื่อต้อนรับพระเวสสันดร เพราะชาวล้านนานิยมฟังมหาเวสสันดรชาดก และขณะเดียวกันก็มีความเชื่อว่าหากใครฟังเทศน์จนครบ 13 กัณฑ์ จะเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ "การจุดผางประทีป" ในช่วงพลบค่ำ ชาวล้านนาจะนำกระถางเทียนหรือขี้ผึ้งเรียกว่า "ผางประทีป" จุดเรียงไว้ตามหน้าบ้านหรือตามรั้วเท่ากับอาุยุของคนในบ้าน พร้อ "ลอยกระทงล่องสะเปา" ในยามค่ำคืนชาวล้านนาก็จะเตรียม "สะเปา" บรรจุดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวสารอาหารแห้ง ลอยไปตามแม่น้ำ ไม่ก็เตรียมเป็นกระทงลอยเพื่อขอขมา และบูชาแม่พระคงคา "แขวนโคมยี่เป็ง" เนื่องจากการฟังเทศน์ต้องใช้เวลานานตลอดวัน ตลอดคืน ชาวบ้านจึงทำโคมค้าง โคมแขวน โคมหูกระต่าย โคมรังมดส้ม โคมผัด โคมเวียน นำไปประดับตามวัด และ้บ้านเรือน เตรียมกัณฑ์ธรรมหรือกัณฑ์เทศน์ ข้าวตอกดอกไม้ เพื่อโปรยเวลามีขบวนแห่ โปรยเวลาเทศน์มหาชาติกัณฑ์นคร หากใครถวายดอกไม้และข้าวตอกบูชา เกิดมาในภพชาติใดจะเป็นคนมีเสน่ห์ "การปล่อยโคมลอย" การจุดโคมลอยมี 2 แบบคือ "ว่าว" หรือ "โคมลอย" เป็นแบบที่ใช้ปล่อยในตอนกลางวัีนจะเน้นด้วยกระดาษหลากสีสันเพื่อให้เห็นได้เด่นชัดจะใช้การรมควันในการที่ทำให้โคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า การจุดโคมลอยที่ปล่อยในตอนกลางวันมักจะนำเงิน สิ่งของ หรือเขียนข้อความว่าผู้ในเก็บโคมนี้ได้ก็นำไปรับรางวัลจากผุ้จุด ส่วนโคมลอยที่ปล่อยในตอนกลางคืน จะเรียกว่า "โคมไฟ" ตัวโคมจะทำด้วยกระดาษสีขาว เพื่อให้เห็นแสงไฟที่ใช้จุดรมไอร้อนเพื่อให้โคมลอยขึ้น ทำให้เห็นเป็นแสงไฟลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าดูสวยงามยิ่งนัก การจุดโคมลอยนี้ตามตำนานกล่าวว่า ทำเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ประวัติเชียงใหม่



อาณาบริเวณของเมืองเชียงใหม่ในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของอาณาจักรล้านนาไทย อันมีนามว่า " นพบุรีศรีนครพิงศ์" กษัตริย์ผู้สร้างนครเชียงใหม่ พ่อขุนเม็งรายมหาราช พระองค์ทรงรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อย บนแผ่นดินล้านนาไทย ให้เป็นผืนปฐพีเดียวกันรวมเป็นอาณาจักล้านนาไทยอันกว้างใหญ่ไพศาล พระองค์เป็นพระโอรส ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าลาวจักราชึ่งเป็นผู้สร้างอาณาจักรโยนกในระยะที่พ่อขุนเม็งรายกำลังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรล้านนา ไทยนั้น พ่อขุนรามคำแหงมหาราชกำลังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยและพ่อขุนงำเมืองกำลังเป็นใหญ่อยู่ที่ เมืองพะเยา กษัตริย์ทั้งสามพระองค์นี้เป็นพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานมา ด้วยกัน ฉะนั้น เมื่อพ่อขุนเม็งรายรวบรวมเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนาไทยเป็นปึกแผ่นแน่นหนา หลังจากนั้น พ.ศ. 1824 พระองค์ก็เสด็จกรีธาทัพเข้าตี นครหริภุญไชย ซึ่งมีพญายีบาครองอยู่และเป็นนครที่มั่นคงแข็งแรงที่สุดทางตอนใต้ได้สำเร็จสมพระราชประสงค์แล้ เสด็จเข้าประทับ อยู่ในนครหริภุญไชยเป็นเวลา สอง ปี จึงทรงมอบให้อ้ายฟ้าอำมาตย ครองนครหริภุญไชยแทนส่วนพ่อขุนเม็งรายได้เสด็จไปสร้าง เมืองใหม่ทางทิศตะวันออกของนครหริภุญไชย ครองอยู่ได้สามปีทรงเห็นว่า เมืองใหม่ทำเลไม่เหมาะสมจึงโปรดย้ายราชธานี มาตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำระมิงค์ มีชื่อว่า "เวียงกุกาม" ( ปัจจุบันอยู่ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) ครองราชย์อยู่ จนถึง พ.ศ. 1835 เกิดนิมิตรประหลาดดลพระทัยให้พ่อขุนเม็งรายไปประพาสป่าและทอดพระเนตร พบชัยภูมิที่จัดสร้างเมืองใหม่ พระองค์โปรดให้สร้างที่ ประทับชั่วคราว ณ เวียงเล็ก (เมืองเล็ก) หรือเวียงเชียงมั่น ( คือบริเวณวัดเชียงมั่น ในปัจจุบัน ) จากนั้นก็โปรดให้ไพร่พลถางป่า และปรับพื้นที่บริเวณเชิงดอยอ้อยช้างหรือ ดอยสุเทพในปัจจุบัน แล้วโปรดให้เชิญเสด็จพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยและพญางำเมืองแห่งนครพะเยา พระสหายร่วมน้ำสาบาน มาช่วยพิจารณาการสร้างเมืองใหม่ เมื่อพระสหายทั้ง 2 พระองค์เสด็จมาถึงและได้เห็นชัยภูมิที่ราบอันสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตรงเชิงดอยสุเทพก็พอพระทัย พ่อขุนรามคำแหงถึงกับทรงมีพระดำรัสว่า " เมืองนี้ข้าศึกจะเบียดเบียนกระทำร้ายมิได้ คนไหนมีเงินพันมาอยู่จะมีเงินหมื่นครั้นมีเงินหมื่นมาอยู่จะมีเงินแสนส่วนพระยางำเมืองถวายความเห็นว่า " เขตเมืองนี้ดีจริง เพราะเหตุว่าเนื้อดินมีพรรณรังสี 5 ประการ มีชัย 7 ประการ เมืองนี้มีสิทธิ์นักแล " ในที่สุด พ่อขุนเม็งรายก็ทรงดำเนินการสร้างเมืองใหม่ โดยให้ขุดคูและสร้างกำแพงเมือง เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมทั้งโปรดให้สร้างปราสาท ราชมณเทียรและบ้านเรือนในปี พ.ศ. 1839 พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง ก็พร้อมใจกันขนานนาม พระนครแห่งใหม่ว่า " นพบุรีศรีนครพิงศ์เชียงใหม่ " เรียกกันเป็นสามัญว่า " นครพิงศ์เชียงใหม่ " ต่อจากนั้น พ่อขุนเม็งรายก็ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกเป็น กษัตริย์ ปกครองอาณาจักรล้านนาไทยี ราชธานีอยู่ที่ นครเชียงใหม่ ทรงเป็นต้นราชวงศ์เม็งรายครองราชย์อยู่จน พ.ศ. 1860 วันหนึ่งขณะที่พ่อขุนเม็งรายกำลัง เสด็จประพาสตลาดกลางนครเชียงใหม่ ได้เกิดฝนตกอย่างหนัก จนอัสนีบาตได้ตกต้องพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 79 พรรษา และมีเชื้อสายของพ่อขุนเม็งราย ได้ปกครองอาณาจักรล้านนาไทยต่อเนื่องกันมา พระองค์ เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร์ล้านนาไทยสืบต่อ กันมาเป็นเวลานาน ตกเป็นเมืองขึ้นของ กรุงศรีอยุธยาและประเทศพม่าอยู่หลายยุคหลายสมัย จนครั้งสุดท้ายในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชทรง ตีนครเชียงใหม่ได้จากประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ.2317 แล้วทรงกวาดล้างอิทธิพลของพม่าจากล้านนาไทยได้สำเร็จ เมืองเชียงใหม่จึงกลับ มาเป็น ประเทศราชของกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จนสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกได้ทรงสถาปนา "พญากาวิละ" (กาวิละ ณ เชียงใหม่) ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ สืบต่อมา 9 พระองค์ มีเจ้านวรัฐเป็น องค์สุดท้ายถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2440 ทรงยุบเมืองประเทศราชเข้ากับอาณาจักรไทย แบ่งการปกครองราชอาณาจักรออกเป็นมณฑล ได้ยกเมือง เชียงใหม่ขึ้นเป็นมณฑลพายัพ และต่อมาภายหลัง็ได้ยกเลิกเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบันนี้ รวมระยะเวลาที่เชียงใหม่ได้เป็นราชธานีอาณาจักรล้านนาไทย ตั้งแต่ พ.ศ.1839 จนถึง พ.ศ.2440 ได้ 600 ปี



ข้อมูลทั่วไป




ลักษณะทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะทางภูมิศาสตร์


1. ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ และโดยรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตร ตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ

2. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ รัฐฉานของสหภาพเมียนม่าร์ โดยมีสันปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก ดอยอ่างขาง อันเป็น ส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีร่องน้ำแม่ตื่นและสันปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวง เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงราย ลำพูน และลำปาง ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงราย และลำปาง มีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา ดอยแม่โต เป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูงและร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอปาย อำเภอขุนยวมและอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสันปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวงและร่องแม่ริด แม่ออย และ สันปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต

ลักษณะภูมิอากาศ

เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 72% สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่ - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพาเอาความหนาวเย็นจากประเทศจีนลงมาปกคลุม ประเทศไทยตอนบน - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมฝ่ายใต้

สภาพภูมิประเทศ
โดยทั่วไปแล้วพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นป่าละเมาะและภูเขา มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาสูง ที่สุดในประเทศไทย คือ "ดอยอินทนนท์" สูงประมาณ 2,565 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 106 กม. ดอยอินทนนท์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมาก นอกจากนี้ยังมีดอยอื่น ๆ ที่มีความสูงรองลงมา อีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,297 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,195 ดอยสุเทพ สูง 1,678 เมตร

โดยทั่วไปอาจแบ่งสภาพพื้นที่ออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. พื้นที่ภูเขา ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเกินกว่า 500 เมตร ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด พื้นที่ภูเขาเหล่านี้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก
2. พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขามีรูปร่างยาวรี ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ อันได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง และลุ่มน้ำแม่งัด ซึ่งนับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร

พื้นที่
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ประมาณ 20,107.057 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,566,910 ไร่ โดยจำแนกลักษณะพื้นที่ได้ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง
จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 22 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ มีจำนวนตำบล 204 ตำบล และจำนวนหมู่บ้าน 1,915
มีรายชื่ออำเภอ และกิ่งอำเภอ ดังนี้
1. กิ่ง อ.ดอยหล่อ 2. กิ่ง อ.แม่วาง 3. อ.จอมทอง 4. อ.เชียงดาว 5. อ.ไชยปราการ 6. อ.ดอยเต่า 7. อ.ดอยสะเก็ด 8. อ.ฝาง 9. อ.พร้าว 10. อ.เมือง 11. อ.แม่แจ่ม 12. อ.แม่แตง 13. อ.แม่ริม 14. อ.แม่ออน 15. อ.แม่อาย 16. อ.เวียงแหง 17. อ.สะเมิง 18. อ.สันกำแพง 19. อ.สันทราย 20. อ.สันป่าตอง 21. อ.สารภี 22. อ.หางดง 23. อ.อมก๋อย 24. อ.ฮอด

ประชากร
จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,587,468 คน แยกเป็นชาย 787,808 คน หญิง 799,657 คน (ณ เดือนธันวาคม 2542) ความหนาแน่นเฉลี่ย 78 คน/ตร.กม. มีชุมชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่กระจายทั่วไป รวม 1,072 กลุ่ม บ้าน 32,742 หลังคาเรือน ประชากร 190,795 คน ประกอบด้วยชาวไทยภูเขาเผาต่าง ๆ ได้แก่ กระเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ มูเซอ อีก้อ ถิ่น ขมุ ลัวะ และอื่น ๆ (ได้แก่ คะฉิ่น และชนกลุ่มน้อยที่มีชาวไทยภูเขาอยู่ร่วมกันมากกว่า 1 เผ่า) และชาวไทยพื้นเมืองอีก 1 เผ่า เป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติไทยแล้ว จำนวน 152,139 คน
และยังไม่ได้รับสัญชาติไทย 38,656 คน

แหล่งน้ำธรรมชาติ
จังหวัดเชียงใหม่ มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วย แม่น้ำ ลำคลอง หนองและบึง ธรรมชาติหลายแห่ง สำหรับ แม่น้ำที่สำคัญ ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่มี 8 สายด้วยกันคือ

1. แม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำสายใหญ่และยาวที่สุด ต้นน้ำอยู่บริเวณหมู่บ้านเมืองงายของภูเขาแดนลาวติดพรมแดนตอนเหนือ ไหลผ่านหมู่บ้านเมืองงายลงมายังอำเภอเชียงดาว แม่แตง แม่ริม ผ่านกลางเมืองเชียงใหม่ ลงไปกลายเป็นเส้นกั้นเขตจังหวัดลำพูนกับเชียงใหม่ ผ่านอำเภอสารภีและอำเภอหางดง อำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน อำเภอจอมทอง และอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ลงไปยังเขตจังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร บรรจบแม่น้ำน่านที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

2. แม่น้ำฝาง อยู่ในเขตอำเภอฝาง เป็นแม่น้ำที่ไหลย้อนขึ้นไปทางทิศเหนือ ต้นน้ำเป็นลำธารหลายสายไหลมารวมกันจากตอนใต้สุดของอำเภอฝาง แล้วไหลไปบรรจบกันทางทิศตะวันออกของตัวอำเภอฝางและไหลไปบรรจบกับแม่น้ำกกที่บ้านท่าตอน และไหลลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่านจังหวัดเชียงรายแล้ววกขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบรรจบลำน้ำ แม่โขง

3. แม่น้ำแม่แตง ต้นน้ำเกิดจากห้วยลำธารต่าง ๆ เขตตำบลเมืองแหง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ เชียงดาวไหลมารวมกับน้ำแม่คองกลายเป็นลำน้ำแม่แตงไหลผ่านอำเภอแม่แตงบรรจบแม่น้ำปิงทางทิศใต้ของอำเภอแม่แตงบริเวณบ้าน สหกรณ์

4. แม่น้ำแม่งัด ต้นน้ำเกิดจากห้วยลำธารจากภูเขาซึ่งล้อมรอบตัวอำเภอพร้าว เกิดแม่น้ำสายนี้ไหลผ่านเขตอำเภอดอยสะเก็ด บรรจบกับแม่น้ำก๋น แม่น้ำคาว ลงสู่แม่น้ำปิง

5. แม่น้ำแม่กวง ต้นน้ำเกิดอยู่บนเทือกเขาบริเวณบ้านยางนาน้อย ไหลผ่านอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองลำพูน แล้วไหลบรรจบกับแม่น้ำปิงบริเวณบ้านสบทา

6. แม่น้ำแม่ขาน ต้นน้ำเกิดอยู่บนเทือกเขาบริเวณบ้านแม่ขานใหญ่ อำเภอสะเมิง ไหลผ่านทุ่งนาบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอสันป่าตองไหลบรรจบแม่น้ำปิงบริเวณบ้านท่ามะโอ อำเภอ สันป่าตอง

7. แม่น้ำแม่กลาง ต้นน้ำเกิดอยู่บนเทือกเขาดอยอินทนนท์ หรือดอยอ่างกา ในเขตอำเภอจอมทอง แล้วไหลผ่านตัวอำเภอจอมทองลงสู่แม่น้ำปิง

8. แม่น้ำแม่แจ่ม ต้นน้ำเกิดอยู่บนเทือกเขาสาขาของดอยหัวช้างในเขตอำเภอแม่แจ่มไหลมารวมกับลำธารอื่น ๆ ในเขตบ้านม่วงป้องกลายเป็นแม่น้ำแม่แจ่ม ไหลผ่านภูเขาซึ่งขนานอยู่สองข้าง เต็มไปด้วยทิวทัศน์ธรรมชาติ สวยงาม เลียบเชิงดอยอินทนนท์ ทางด้านทิศตะวันตกแล้วไหลผ่านที่ราบป่าไม้ ทุ่งนา หมู่บ้านผ่านตัวอำเภอแม่แจ่ม แล้ววกอ้อมดอยเลือมูน ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ลงมาบรรจบแม่น้ำแม่ปิง ที่บ้านแม่แจ่ม ห่างจากที่ว่าการอำเภอฮอด ไปทางทิศเหนือ