ประวัติเชียงใหม่



อาณาบริเวณของเมืองเชียงใหม่ในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของอาณาจักรล้านนาไทย อันมีนามว่า " นพบุรีศรีนครพิงศ์" กษัตริย์ผู้สร้างนครเชียงใหม่ พ่อขุนเม็งรายมหาราช พระองค์ทรงรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อย บนแผ่นดินล้านนาไทย ให้เป็นผืนปฐพีเดียวกันรวมเป็นอาณาจักล้านนาไทยอันกว้างใหญ่ไพศาล พระองค์เป็นพระโอรส ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าลาวจักราชึ่งเป็นผู้สร้างอาณาจักรโยนกในระยะที่พ่อขุนเม็งรายกำลังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรล้านนา ไทยนั้น พ่อขุนรามคำแหงมหาราชกำลังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยและพ่อขุนงำเมืองกำลังเป็นใหญ่อยู่ที่ เมืองพะเยา กษัตริย์ทั้งสามพระองค์นี้เป็นพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานมา ด้วยกัน ฉะนั้น เมื่อพ่อขุนเม็งรายรวบรวมเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนาไทยเป็นปึกแผ่นแน่นหนา หลังจากนั้น พ.ศ. 1824 พระองค์ก็เสด็จกรีธาทัพเข้าตี นครหริภุญไชย ซึ่งมีพญายีบาครองอยู่และเป็นนครที่มั่นคงแข็งแรงที่สุดทางตอนใต้ได้สำเร็จสมพระราชประสงค์แล้ เสด็จเข้าประทับ อยู่ในนครหริภุญไชยเป็นเวลา สอง ปี จึงทรงมอบให้อ้ายฟ้าอำมาตย ครองนครหริภุญไชยแทนส่วนพ่อขุนเม็งรายได้เสด็จไปสร้าง เมืองใหม่ทางทิศตะวันออกของนครหริภุญไชย ครองอยู่ได้สามปีทรงเห็นว่า เมืองใหม่ทำเลไม่เหมาะสมจึงโปรดย้ายราชธานี มาตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำระมิงค์ มีชื่อว่า "เวียงกุกาม" ( ปัจจุบันอยู่ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) ครองราชย์อยู่ จนถึง พ.ศ. 1835 เกิดนิมิตรประหลาดดลพระทัยให้พ่อขุนเม็งรายไปประพาสป่าและทอดพระเนตร พบชัยภูมิที่จัดสร้างเมืองใหม่ พระองค์โปรดให้สร้างที่ ประทับชั่วคราว ณ เวียงเล็ก (เมืองเล็ก) หรือเวียงเชียงมั่น ( คือบริเวณวัดเชียงมั่น ในปัจจุบัน ) จากนั้นก็โปรดให้ไพร่พลถางป่า และปรับพื้นที่บริเวณเชิงดอยอ้อยช้างหรือ ดอยสุเทพในปัจจุบัน แล้วโปรดให้เชิญเสด็จพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยและพญางำเมืองแห่งนครพะเยา พระสหายร่วมน้ำสาบาน มาช่วยพิจารณาการสร้างเมืองใหม่ เมื่อพระสหายทั้ง 2 พระองค์เสด็จมาถึงและได้เห็นชัยภูมิที่ราบอันสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตรงเชิงดอยสุเทพก็พอพระทัย พ่อขุนรามคำแหงถึงกับทรงมีพระดำรัสว่า " เมืองนี้ข้าศึกจะเบียดเบียนกระทำร้ายมิได้ คนไหนมีเงินพันมาอยู่จะมีเงินหมื่นครั้นมีเงินหมื่นมาอยู่จะมีเงินแสนส่วนพระยางำเมืองถวายความเห็นว่า " เขตเมืองนี้ดีจริง เพราะเหตุว่าเนื้อดินมีพรรณรังสี 5 ประการ มีชัย 7 ประการ เมืองนี้มีสิทธิ์นักแล " ในที่สุด พ่อขุนเม็งรายก็ทรงดำเนินการสร้างเมืองใหม่ โดยให้ขุดคูและสร้างกำแพงเมือง เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมทั้งโปรดให้สร้างปราสาท ราชมณเทียรและบ้านเรือนในปี พ.ศ. 1839 พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง ก็พร้อมใจกันขนานนาม พระนครแห่งใหม่ว่า " นพบุรีศรีนครพิงศ์เชียงใหม่ " เรียกกันเป็นสามัญว่า " นครพิงศ์เชียงใหม่ " ต่อจากนั้น พ่อขุนเม็งรายก็ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกเป็น กษัตริย์ ปกครองอาณาจักรล้านนาไทยี ราชธานีอยู่ที่ นครเชียงใหม่ ทรงเป็นต้นราชวงศ์เม็งรายครองราชย์อยู่จน พ.ศ. 1860 วันหนึ่งขณะที่พ่อขุนเม็งรายกำลัง เสด็จประพาสตลาดกลางนครเชียงใหม่ ได้เกิดฝนตกอย่างหนัก จนอัสนีบาตได้ตกต้องพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 79 พรรษา และมีเชื้อสายของพ่อขุนเม็งราย ได้ปกครองอาณาจักรล้านนาไทยต่อเนื่องกันมา พระองค์ เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร์ล้านนาไทยสืบต่อ กันมาเป็นเวลานาน ตกเป็นเมืองขึ้นของ กรุงศรีอยุธยาและประเทศพม่าอยู่หลายยุคหลายสมัย จนครั้งสุดท้ายในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชทรง ตีนครเชียงใหม่ได้จากประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ.2317 แล้วทรงกวาดล้างอิทธิพลของพม่าจากล้านนาไทยได้สำเร็จ เมืองเชียงใหม่จึงกลับ มาเป็น ประเทศราชของกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จนสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกได้ทรงสถาปนา "พญากาวิละ" (กาวิละ ณ เชียงใหม่) ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ สืบต่อมา 9 พระองค์ มีเจ้านวรัฐเป็น องค์สุดท้ายถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2440 ทรงยุบเมืองประเทศราชเข้ากับอาณาจักรไทย แบ่งการปกครองราชอาณาจักรออกเป็นมณฑล ได้ยกเมือง เชียงใหม่ขึ้นเป็นมณฑลพายัพ และต่อมาภายหลัง็ได้ยกเลิกเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบันนี้ รวมระยะเวลาที่เชียงใหม่ได้เป็นราชธานีอาณาจักรล้านนาไทย ตั้งแต่ พ.ศ.1839 จนถึง พ.ศ.2440 ได้ 600 ปี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น